งานจัดเก็บและพัฒนารายได้

มาตรฐานภายใน เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ฯ

มาตรการป้องกันการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับโฆษณาบนทางสาธารณะ

Uncategorised

สมาชิกสภาฯ

ยงยทธ

                                                   นายยงยุทธ  ยาวุฒิ

                                  ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์

                                                                    

 

 

                 สวาท                        ปราญชล

                นายสวาท  ชื่นจิตร                       นางสาวปราญชลี  วงค์คำยอด

          รองประธานสภาอบต.แม่เจดีย์                  เลขานุการสภาอบต.แม่เจดีย์

 

 

    อดร1       กมไหล           พวงเพชร

       นายอุดร  นะนุ่น                  นางกิมไหล่ สิงหราช          นางพวงเพ็ชร ชัยดิลกวงศ์

    ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 1           ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 2           ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 5

 


    สมจตร        วโรจน             สยาม  

       นายสมจิตร  เสาร์ปา            นายวิโรจน์  แสนใจงาม             นายสยาม  ทองสว่าง

    ส.อบต.แม่เจดีย์  หมู่ที่ 6         ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 7           ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 9

 

 

    เขอน       สนทร            สมพงษ

        นายเขื่อน  รินคำ                 นายสุนทร  สุดเล็ก                   นายสมพงษ์ เพียรชนะ

   ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 10       ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 12           ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 13 

 

 

 

 

     นมตร        เจษฏ           จนทร 

       นายนิมิตร  รอดนา                    นายเจษฎ์ ใจดี                      นายจันทร์ โกสุโท

   ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 14       ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 15          ส.อบต.แม่เจดีย์ หมู่ที่ 16 

 

 

บทบาทและหน้าที่

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่จะต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
๑. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
๒. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๓. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
๔. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๕. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๖. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๗. คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
๘. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
 
นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
๑. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
๒. ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๓. ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
๔. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
๕. ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
๖. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
๗. บำรุงส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
๘. การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๙. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
๑๐. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
๑๑. กิจการเกี่ยวกับพาณิชย์
๑๒. การท่องเที่ยว
๑๓. การผังเมือง
อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้
 

อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่2 พ.ศ. 2549

  1. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (มาตรา 16)
    (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
    (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
    (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
    (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
    (5) การสาธารณูปการ
    (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
    (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
    (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
    (9) การจัดการศึกษา
    (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
    (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
    (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
    (14) การส่งเสริมกีฬา
    (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
    (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
    (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
    (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
    (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
    (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
    (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    (25) การผังเมือง
    (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
    (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
    (28) การควบคุมอาคาร
    (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
    (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
  2. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ”

อำนาจหน้าที่ของสภา อบต.

  1. เลือกประธานสภา รองประธานสภา (มาตรา 48) และ เลขานุการสภา อบต. (มาตรา 57)
  2. รับทราบนโยบายของนายก อบต. ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายก อบต. ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
  3. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 46 ดังนี้
    (1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต.
    (2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
    (3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
  4. ในที่ประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้งกระทู้ถามต่อนายก อบต. หรือรองนายก อบต. ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ (มาตรา 56/1) เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 58/7) + นายก อบต.
    (1) อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือหรือผู้บริหารท้องถิ่น (มาตรา 58)
    ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ (มาตรา 58/2)
    (2) นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน แต่งตั้งเลขานุการนายก อบต. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน (มาตรา 58/3)

อำนาจหน้าที่ของนายก อบต.

  1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือ แจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคนและจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5)
  2. มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 59 ดังนี้
    (1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
    (2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
    (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต.
    (4) วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
    (5) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบต.
    (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
  3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต. (มาตรา 60)
  4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (มาตรา 58/6)
  5. กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา อบต. หรือสภา อบต. ถูกยุบตามมาตรา 53 หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อย ให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อได้เลือกประธานสภา อบต. แล้วให้เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. (มาตรา 58/5 วรรคสอง)
  6. กรณีนายก อบต. ปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือราชการ และนายอำเภอได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วรีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน 15 วัน เพื่อวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว : การกระทำของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคำสั่งนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าว ไม่มีผลผูกพันกับ อบต. (มาตรา 90)
  7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. (มาตรา 71) ร่างข้อบัญญัติประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (มาตรา 87)
  8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ อบต. (มาตรา 65)

โครงสร้างการบริหาร

 การบริหาร/โครงสร้างองค์กร

        องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย  2  ฝ่าย ประกอบด้วย

      (1) ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ มีฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน        ตำบลแม่เจดีย์มี 16 หมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์มีจำนวน 15 หมู่บ้าน                  และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ จำนวน 15 คน

       (2) ฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์  มีคณะผู้บริหาร จำนวน 4 คน ได้แก่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารเท่านั้น  โดยการกำหนดนโยบาย ควบคุม และรับผิดชอบการบริหารงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลและสามารถแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่วยบริหารงานได้ โดยในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบล มีวาระการทำงาน ๔ ปี และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน      2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน

 

การบริหารส่วนราชการขององค์การปกครองส่วนตำบลแม่เจดีย์

          ส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน          ส่วนตำบล ตลอดจนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว โดยมีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สำนักปลัดองค์การบริหาร   ส่วนตำบล กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล  คือ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุด ได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

          ส่วนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น มีการแบ่งส่วนงานการบริหารออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยคำนึงถึงลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ ประกอบด้วย

           1. สำนักปลัด อบต.  

             ควบคุม ตรวจสอบการจัดงานต่าง ๆ หลายด้าน เช่น งานธุรการ งานบุคคล งานประชาสัมพันธ์ งานทะเบียน งานนโยบาย   และแผน งานควบคุมดูและส่งเสริมการท่องเที่ยว งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานเรียบเรียงและเตรียมการสําหรับประชุม งานติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ งานติดตามผลงาน เป็นต้น มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตําบลและราชการที่มิได้กําหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตําบลโดยเฉพาะ รวมทั้งกํากับ และเร่งรัดการปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไป ตามนโยบายแนวทางและแผนปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล

           2. กองคลัง

            ดำเนินการปฏิบัติงานบริหารงานคลังที่ต้องให้ความชํานาญ โดยตรวจสอบการจัดการ ต่าง ๆ เกี่ยวกับงานคลังหลายด้าน        เช่น งานการคลัง งานการเงินและบัญชี งานจัดเก็บรายได้ งานพัสดุ งานจัดการเงินกู้ งานตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการ    เบิกจ่ายเงิน งานรับรองสิทธิการเบิกเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การเก็บ รักษาทรัพย์สินที่มีค่า และหลักฐานการแทนตัวเงิน พิจารณาตรวจสอบรายงานการเงินต่าง ๆ รายงานการ ปฏิบัติงาน สรุปเหตุผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ พิจารณาวินิจฉัยการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องวางแผนงานด้านต่าง ๆ ให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานการคลังได้ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ     ตลอดจนควบคุมการตรวจสอบและประเมินผลการทํารายงานการประเมินผลการใช้จ่าย งบประมาณ พิจารณาการปรับปรุงแก้ไขศึกษาวิเคราะห์ เกี่ยวกับรายได้ รายจ่ายจริง เพื่อประกอบการพิจารณาวิเคราะห์ ประมาณการรายรับรายจ่าย กําหนดรายจ่าย ของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการชําระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษี แนะนํา วิธีการปฏิบัติงานพิจารณาเสนอแนะการเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ ควบคุมการตรวจสอบรายงานการเงินและบัญชีต่าง ๆ ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์ การจัดซื้อ จัดจ้าง ร่วมเป็น กรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย เช่น กรรมการรักษาเงิน เป็นกรรมการตรวจการจ้าง เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ฯลฯ เสนอข้อมูล ทางด้านการคลัง เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน เป็นต้น การให้คําปรึกษาแนะนํา ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกําหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงาน

           3. กองช่าง

              การสํารวจออกแบบ การจัดทําข้อมูลด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การ ตรวจสอบการก่อสร้างงานควบคุมอาคาร งานเกี่ยวกับแผนการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล งาน เกี่ยวกับแผนงานการเก็บรักษา งานสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และหนังสือสั่ง การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

          4. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

            ลักษณะงานเกี่ยวกับการวางแผน บริหารจัดการระบบงาน อํานวยการ สั่งราชการ มอบหมาย กํากับ แนะนํา ตรวจสอบ ประเมินผลงาน ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานด้านการศึกษา ศานา และวัฒนธรรม ประเพณี กีฬา นันทนาการ กำกับดูแลการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

 

โครงสร้างองค์กรและบุคลากรของหน่วยงาน

vฝ่ายบริหาร

vสมาชิกสภา

vหัวหน้าส่วนราชการ

vสำนักปลัด

vกองคลัง

vกองช่าง

vกองการศึกษา

vหน่วยงานตรวจสอบภายใน

 

 

โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

แผนผังโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ (ฝ่ายการเมือง)

สไลด1

 

 

 

       แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - 2569)

 สไลด11

โครงสร้างส่วนราชการตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี  

 

 

  

 

 

สำรวจความพึงพอใจการให้บริการข้อมูล อบต.แม่เจดีย์น่าอยู่

ลงคะแนนโหวต

news
Prev Next
ประกาศ

ผู้บริหาร

นายก

ค้นหา

การประเมินคุณธรรม

สิ่งที่น่าสนใจ

บริการประชาชน

เข้าสู่ระบบ

Line อบต.แม่เจดีย์

line

สถิติผู้เยี่ยมชม

156423
วันนี้วันนี้1
เมื่อวานเมื่อวาน117
สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้425
เดือนนี้เดือนนี้2341
รวมผู้เข้าชมทั้งหมดรวมผู้เข้าชมทั้งหมด156423

2024 01 30 13 13 54

2024 01 30 13 13 59

2024 01 30 13 13 56

eService

x